ฝ่ายพัฒนาอาจารย์
นโยบายด้านการพัฒนาอาจารย์
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต มีนโยบายจะพัฒนาอาจารย์แพทย์ของศูนย์แพทยศาสตร์ ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ทุกสาขาวิชาและทุกระดับ ให้มีความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านวิชาการและด้านแพทยศาสตรศึกษาที่เหมาะสมกับแพทย์ของประเทศไทย รวมทั้งให้มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาตนเองอยู่ตลอด เพื่อนําความรู้มาถ่ายทอดให้แก่ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจําบ้าน และแพทย์ในสถาบันอื่นๆ ต่อไป โดยได้สนับสนุนทุนประเภทต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่ ทุนศึกษาต่อ ทุนฝึกอบรม ทุนสนับสนุนการวิจัย ทุนสนับสนุนการนําเสนอผลงานวิจัย และผลงานอื่นๆ
ทุนสนับสนุนด้านพัฒนาอาจารย์
ประเภททุนสนับสนุน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
- ทุนศึกษาต่อ หมายถึง เงินค่าใช้จ่ายเพื่อการเพิ่มพูนความรู้ ด้านการเรียนการสอน ด้านวิชาชีพ หรือด้านการวิจัย ตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพ ตามกฎ ก.พ.
- ทุนฝึกอบรม หมายถึง เงินค่าใช้จ่ายเพื่อการเพิ่มพูนความรู้ ความชํานาญ หรือประสบการณ์ด้านวิชาชีพการเรียน การสอน วิจัย การอบรม/การสัมมนา การประชุมวิชาการ หรือการทํางาน โดยไม่มีการรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามกฎ ก.พ. ทุนฝึกอบรมยังแบ่งได้เป็น
- ทุนฝึกอบรมระยะสั้น ได้แก่ การฝึกอบรมในกําหนดระยะเวลา 1-6 เดือน
- ทุนฝึกอบรมระยะยาว ได้แก่ การฝึกอบรมในกําหนดระยะเวลามากกว่า 5 เดือน
- ทุนสนับสนุนการวิจัย หมายถึง เงินค่าใช้จ่ายเพื่อการดําเนินการวิจัยทั้งหมด โดยไม่รวมการนําเสนอผลงานวิจัย
- ทุนสนับสนุนการนําเสนอผลงานวิจัย หมายถึง เงินค่าใช้จ่ายและเงินทุนสนันสนุน เพื่อการนําเสนอผลงานวิจัย เช่น poster presentation, oral presentation เป็นต้น
- ทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานอื่นๆ หมายถึง เงินค่าใช้จ่ายและเงินทุนสนันสนุน เพื่อตีพิมพ์ ผลงานวิจัยและผลงานอื่นๆ อาทิ รายงานผู้ป่วย
1. ทุนพัฒนาอาจารย์
การสมัครขอรับทุนพัฒนาอาจารย์
1. ทุนนี้เปิดรับสมัครตลอดปี ผู้สนใจติดต่อขอใบสมัคร สอบถามรายละเอียด และยื่นใบสมัครฉบับจริงพร้อมสำเนาจำนวน 2 ชุด ที่ฝ่ายพัฒนาอาจารย์ สำนักงานชั้น 2 อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิตโดยยื่นใบสมัครไม่ช้ากว่าสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน เพื่อให้ทันนำเข้าพิจารณาในเดือนถัดไป แต่ทั้งนี้ต้องก่อนกำหนดเดินทางไม่น้อยกว่า 30 วัน นับจากกำหนดวันประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองทุนฯ
2. มีการพิจารณาทุน ทุก 2 เดือน โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรองทุนพัฒนาอาจารย์ฯ เพื่อที่จะได้นำเสนอคณะกรรมการการศึกษาพิจารณาเพื่อเห็นชอบ และเสนอให้ผู้อำนวยการสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ พิจารณาดำเนินการต่อไป
3. การขอต่อทุนสำหรับทุนศึกษาต่อ และทุนฝึกอบรมระยะยาว ต้องยื่นขอต่อทุนล่วงหน้าพร้อมส่งรายงานการศึกษา / ฝึกอบรม ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนหมดกำหนดทุนเดิม
ขั้นตอนการขอรับทุน (ทุนพัฒนาอาจารย์)
1. ติดต่อสถาบันการศึกษา และได้รับหนังสือตอบรับการฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษาดังกล่าว (ในกรณีที่ สถาบันการศึกษาต้องการจดหมายรับรองให้ทุนสนับสนุนการฝึกอบรม จากศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต ประกอบการพิจารณาเข้ารับการฝึกอบรม ให้ติดต่อรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ เป็นการเฉพาะ)
2. ทำหนังสือและโครงการ เสนอไปที่หัวหน้าภาควิชา
3. หัวหน้าภาควิชาพิจารณา หากเห็นชอบและสนับสนุน ให้ดำเนินเรื่องขอความเห็นชอบจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี / สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
4. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี / สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พิจารณา หากเห็นชอบและสนับสนุน
ให้ดำเนินเรื่องไปที่กรมการแพทย์ เพื่อทำการขอทุนจากกรมการแพทย์ และทำเรื่องมาที่รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ เพื่อพิจารณาทุนเพิ่มเติม
อนึ่ง ในการดำเนินเรื่องไปที่ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ นั้น ให้ตรวจสอบคุณสมบัติ และกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มขอรับทุนสนับสนุนจากสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ให้เรียบร้อย
5. รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ กลั่นกรองเบื้องต้น เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองทุนพัฒนาอาจารย์ฯ
6. คณะอนุกรรมการกลั่นกรองทุนพัฒนาอาจารย์ฯ พิจารณารายละเอียด พร้อมผลการพิจารณาทุนของกรมการแพทย์ เพื่อนำเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการการศึกษาฯ
7. คณะกรรมการการศึกษาฯ พิจารณาเพื่อเห็นชอบ และเสนอให้ ผู้อำนวยการสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ พิจารณาดำเนินการต่อไป
2. ทุนอุดหนุนวิจัย
ขั้นตอนการขอรับทุนอุดหนุนวิจัย
1. ผู้วิจัยทําบันทึกข้อความเพื่อขออนุมัติก่อนการตีพิมพ์/การนําเสนอผลงานวิจัย พร้อมแนบเอกสาร
2. เสนอผู้บังคับบัญชา /หัวหน้ากลุ่มงาน เพื่อโปรดพิจารณาเห็นชอบ
3. เสนอหัวหน้าศูนย์วิจัยโรงพยาบาลราชวิถี/สถาบันสุขภาพเด็กฯ เพื่อพิจารณา
4. เสนอผู้อํานวยการโรงพยาบาลราชวิถี/สถาบันสุขภาพเด็กฯ เพื่อพิจารณาเอกสารถึงศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีฯ นําเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองทุนฯ อนุมัติ
5. ทําบันทึกขออนุมัติและแจ้งผลทุนฯ เสนอถึงสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ – มหาวิทยาลัยรังสิต
6. ฝ่ายพัฒนาอาจารย์ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีฯ แจ้งผลการอนุมัติทุน 3 ฉบับ ได้แก่
* สําเนาเอกสารถึงผู้อําแวยการโรงพยาบาลราชวิถี/ผู้อํานวยการสถาบันสุขภาพเล็กแห่งชาติมหาราชินี
* สําเนาเอกสารถึงหัวหน้าภาควิชา
* สําเนาเอกสารถึงผู้ขอทุน
7. ผู้วิจัยพิมพ์/นําเสนอผลงานแล้วเสร็จ
8. ผู้วิจัยทําบันทึกข้อความเพื่อขออนุบัติเบิกค่านําเสนอผลงานพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน
9. เสนอผู้บังคับบัญชา /หัวหน้ากลุ่มงาน เพื่อโปรดพิจารณาเห็นชอบ
10. เสนอหัวหน้าศูนย์วิจัยโรงพยาบาลราชวิถี/สถาบันสุขภาพเด็กฯ เพื่อพิจารณา
11. เสนอผู้อํานวยการโรงพยาบาลราชวิถี/สถาบันสุขภาพเด็กฯ เพื่อพิจารณา
12. เสนอรองผอ.ฝ่ายพัฒนาอาจารย์ ถึง ผู้อํานวยการศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกฯ อนุมัติ
13. อนุมัติ ผู้วิจัยติดต่อรับเงินที่สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ – มหาวิทยาลัยรังสิต
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
- ผู้ได้รับทุนศึกษาต่อ ทุนฝึกอบรมระยะสั้น ทุนฝึกอบรมระยะยาว ทุนดูงาน ต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อบรม หรือดูงาน และกลับมาปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์แก่ภาควิชา สถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ และประเทศชาติ เป็นส่วนรวมสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ
- ผู้ได้รับทุนศึกษาต่อและทุนฝึกอบรมระยะยาว ต้องส่งรายงานต่อรองผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ ทุก 5 เดือน เพื่อให้ทราบผลการศึกษาโครงการในขั้นต่อไป ตลอดจนสถานที่ฝึกอบรมและผู้รับผิดชอบที่จะติดต่อได้ เพื่อเสนอ ต่อคณะกรรมการการศึกษาฯ
- เมื่อสิ้นสุดการศึกษาต่อ / ฝึกอบรมระยะยาว ระยะสั้น และดูงาน ผู้ขอทุนจะต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ ให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองทุนพัฒนาอาจารย์ฯ จํานวน 5 ชุด ภายใน 3 เดือน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาฯต่อไป
- ต้องกลับมาปฏิบัติราชการในโรงพยาบาลราชวิถี / สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตามระเบียบว่าด้วย การให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ.2549 และสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศที่ทําไว้ ในกรณีที่ผู้รับทุนมิได้มาปฏิบัติราชการตามระยะเวลาของสัญญาที่กําหนดไว้ ผู้รับทุนต้องชดใช้ทุน ที่ผู้รับทุนได้รับไปพร้อมเบี้ยปรับอีก 2 เท่า คืนแก่ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ทั้งนี้ ให้คิดจํานวนเงินที่ต้องชดใช้เป็นสัดส่วนกับ ระยะเวลาที่มิได้กลับมาปฏิบัติราชการให้ครบตามสัญญา
- ในกรณีที่ไม่ได้เดินทางไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน จะต้องคืนเงินทุนทั้งหมดแก่สถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ต้องเดินทาง ถ้าพ้นกําหนดนี้จะต้องคืนเงินทุนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
- ในกรณีที่ไม่สามารถศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน ครบกําหนดเวลาตามที่ได้เสนอไว้ในการทําเรื่องขอทุนดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม จะต้องคืนเงินค่าใช้จ่ายรายเดือนตามสัดส่วนแก่สถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ วันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย ถ้าพ้นกําหนดนี้จะต้องคืนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
- ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องเลื่อนกําหนดการเดินทาง ต้องทําเรื่องชี้แจงเหตุผล เสนอผ่านโรงพยาบาล ถึงรองผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ เพื่อใช้ประกอบในการเบิกจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ตามที่ได้รับอนุมัติ ทั้งนี้ ควรดําเนินการให้แล้วเสร็จอย่างน้อย 15 วัน ก่อนการเดินทาง
- ในกรณีที่ได้รับเงินสนับสนุน เงินช่วยวิจัย หรือเงินจากแหล่งอื่นในภายหลัง จะต้องแจ้งให้ รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาอาจารย์ฯ ทราบ เพื่อพิจารณาการเรียกเงินทุนส่วนนั้นคืน หรือจ่ายเงินทุนส่วนนั้นให้เป็นจํานวนเงินตามความเหมาะสมต่อไป