ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันสังคมและเวชศาสตร์ชุมชน
เกี่ยวกับภาควิชา
เวชศาสตร์ป้องกันและสังคมและเวชศาสตร์ชุมชน (PVM)
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันสังคม และชุมชน เป็นภาควิชาหนึ่งที่นักศึกษาต้องผ่านการศึกษา 4 ปี เป็นการศึกษาในชั้นปรีคลินิก 2 ปี และในชั้นคลินิกอีก 2 ปี
ในชั้นปรีคลินิก ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาจะได้ศึกษาในรายวิชา เวชศาสตร์ชุมชน 1 ที่เกี่ยวกับสภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนชนบท วัฒนธรรมชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพ ความจำเป็นพื้นฐาน การวินิจฉัยอนามัยชุมชนเบื้องต้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การสาธารณสุขมูลฐาน การบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับชุมชน ระบบสุขภาพของประเทศ การสื่อสารกับประชาชน การสื่อสารกับบุคลากรการแพทย์และการทำงานเป็นทีม
ในชั้นปีที่ 3 นักศึกษาจะได้ศึกษาในรายวิชา เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม 1 ที่เกี่ยวกับความหมายของสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค องค์ประกอบการเกิดโรค และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการเจ็บป่วย ประชากรศาสตร์ การวางแผนครอบครัว การดูแลแบบองค์รวม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มมารดา ทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย โรคจากการประกอบอาชีพ และการจัดสภาพการทำงานเพื่อความปลอดภัย ระบบสุขภาพของไทย การวางแผนงานสาธารณสุข แพทย์ทางเลือก กฎหมายและข้อบังคับสำคัญทางสุขภาพ ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขระเบียนรายงาน โรคที่ต้องแจ้งความ เวชศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์ใต้น้ำ เวชศาสตร์การบิน
ในชั้นคลินิก ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะได้ศึกษาในรายวิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม 2 ที่เกี่ยวกับระบาดวิทยาของโรคและปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ การป้องกันโรคแบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ในปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชนและระดับประเทศ บทบาทของสหสาขาวิชาชีพในการการสร้างเสริมสุขภาพ การให้วัคซีนป้องกันโรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วย จากการประสบภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุหมู่ การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ในชั้นปีที่ 6 นักศึกษาจะได้ศึกษาในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน 2 โดยผ่านการเรียนรู้เวชปฏิบัติในโรงพยาบาลชุมชน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดทางเวชศาสตร์ครอบครัว ความสัมพันธ์ของสุขภาพและการเจ็บป่วยกับสภาพครอบครัว การปรับตัวของครอบครัวต่อการเจ็บป่วย
การเรียนการสอน
1. ชั้นปรีคลินิก
ในชั้นปีที่ 2 วิชา CMD 211
ในชั้นปีที่ 3 วิชา PVM 331
2. ชั้นคลินิก
ในชั้นปีที่ 4
วิชา PVM 431 เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม (Preventive and Social Medicine II)
ระบาดวิทยาของโรคและปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ การป้องกันโรคแบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ในปัจเจก
บุคคล ครอบครัว ชุมชนและระดับประเทศ บทบาทของสหสาขาวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพ การให้วัคซีนป้องกัน
โรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วย จากการประสบภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุหมู่ การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ในชั้นปีที่ 6
1. วิชาเลือกบังคับวิชาชีพ 2 (EMD 622) Clinical Elective II
จัดการเรียนการสอน ณ โรงพยาบาลจังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลกบินทร์บุรี หรือโรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โดยให้นักศึกษาเลือกปฏิบัติงานในกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม หรือ ศัลยกรรม หรือ
อายุรกรรม หรือกุมารเวชกรรม หรือ ออร์โธปิดิกส์ กลุ่มงานใดกลุ่มงานหนึ่งเป็นเวลา 4 สัปดาห์
2. วิชาเวชศาสตร์ชุมชน 2 (CMD 621) Community Medicine II
การเรียนรู้ปัญหาในโรงพยาบาลชุมชนต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน ณ โรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง จากโรงพยาบาล 5 แห่ง ต่อไปนี้
1. โรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
2. โรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
3. โรงพยาบาลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
4. โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา
5. โรงพยาบาลกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม
3.วิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม 3 (PVM 621) Preventive & Social Medicine III
ทักษะการวิจัยทางแพทย์หรือสาธารณสุขในสถานพยาบาลหรือในชุมชน ตั้งคำถามการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม หาข้อมูลรวบรวมข้อมูล วางแผนระเบียบการวิจัย รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลแปรผล วิจารณ์ เขียนรายงาน นำเสนอผลงานวิจัย และนำไปประยุกต์ให้
ข่าว ประกาศ และกิจกรรม
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ภาควิชา
- ติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
- 021234567
- 021234567
- info@email.com
- FB Page
- Line ID
- YouTube