ภาควิชาอายุรศาสตร์
เกี่ยวกับภาควิชา
อายุรศาสตร์ (MED)
ภาควิชาอายุรศาสตร์โรงพยาบาลราชวิถี เป็นภาควิชาใหญ่ประกอบไปด้วยหน่วยงานต่างๆจำนวน 11 หน่วยงาน ได้แก่ งานโรคหัวใจ งานโรคผิวหนัง งานโรคโลหิต งานโรคปอด งานโรคทางเดินอาหาร งานต่อมไร้ท่อ งานโรคไต งานโรคข้อและภูมิแพ้ งานโรคติดเชื้อ งานประสาทวิทยา และงานโรคมะเร็ง อายุรศาสตร์เป็นภาควิชาหนึ่งที่นักศึกษาแพทย์ต้องผ่านการศึกษาทั้ง 3 ปีระหว่างการศึกษาในชั้นคลินิก
การเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาที่สอบผ่านทุกรายวิชาของชั้นปีที่ 3 จะต้องลงทะเบียนเรียนใน 2 รายวิชา ได้แก่ อายุรศาสตร์ 1 และ อายุรศาสตร์ 2 นักศึกษาแพทย์จะต้องได้รับการเรียนรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับกลุ่มอาการและโรคทางอายุรศาสตร์ที่สำคัญและพบบ่อย และปฏิบัติของกลุ่มอาการและโรคทางอายุรศาสตร์ที่สำคัญและพบบ่อย ตั้งแต่ระบาดวิทยา พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา การวินิจฉัยแยกโรค การวินิจฉัยโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การดำเนินโรค หลักการรักษา ภาวะแทรกซ้อนของโรคและจากการรักษา นอกจากนั้นนักศึกษายังต้องได้เรียนรู้ในภาคปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การซักประวัติและการตรวจร่างกายผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์ การรวบรวมปัญหา การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วย (Clinical reasoning) เพื่อให้การวินิจฉัยและสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพภายใต้ความดูแลของอาจารย์แพทย์ รวมถึงหลักการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมคำนึงถึงสิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งจะครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชน ฝึกการบันทึกรายงานผู้ป่วยให้ครบถ้วน ทักษะการสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย เรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ฝึกการทำหัตถการเบื้องต้นโดยคำนึงถึงสิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วย ศึกษาการป้องกันโรครวมไปถึงสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์ และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
การเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ในชั้นปีที่ 5 นักศึกษาที่สอบผ่านรายวิชาของภาควิชาอายุรศาสตร์ในชั้นปีที่ 4 แล้วจะได้ศึกษาต่อใน 2 รายวิชา ได้แก่ อายุรศาสตร์ 3 และ อายุรศาสตร์ 4 ที่เกี่ยวกับความรู้ทางทฤษฎีของกลุ่มอาการและโรคทางอายุรศาสตร์เฉพาะทางที่สำคัญที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับพยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา การวินิจฉัยแยกโรค การวินิจฉัยโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การดำเนินโรค แนวทางการรักษา ภาวะแทรกซ้อน หลักการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤตทางอายุรศาสตร์ กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยที่มีปัญหารุนแรงซับซ้อน ผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤต ผู้ป่วยอายุรศาสตร์เฉพาะทาง แปลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง ทราบหลักการและขั้นตอนในการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมถึงสามารถประเมินความซับซ้อนและความรุนแรงของโรคเพื่อตัดสินใจทำการปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยให้แก่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆได้อย่างเหมาะสมทันเวลา มีทักษะในการทำหัตถการต่างๆ ที่ยากขึ้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย มีความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี
การเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ในชั้นปีที่ 6 นักศึกษาที่สอบผ่านรายวิชาของภาควิชาอายุรศาสตร์ในชั้นปีที่ 5 แล้วจะได้ศึกษาต่อใน 2 รายวิชา ได้แก่ อายุรศาสตร์ 5 และ อายุรศาสตร์ 6 สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์ได้ด้วยตนเองในเบื้องต้นภายใต้การควบคุมและชี้แนะจากอาจารย์แพทย์ สามารถวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยนัดติดตามอาการ มีความรู้ความชำนาญในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตามหลักเวชจริยศาสตร์เวชปฏิบัติกับผู้ป่วยอายุรศาสตร์ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของอาจารย์ สามารถทำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมและสามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องเพื่อประกอบการดูแลรักษาผู้ป่วย มีทักษะในการทำหัตถการที่จำเป็นโดยคำนึงถึงสิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วย สามารถประเมินความสามารถของตนเองในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยตนเองหรือความจำเป็นในการส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่โรครุนแรงหรือซับซ้อน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมถึงการนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย มีทักษะทางด้านการสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงทักษะในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพ การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ การบันทึกรายงานผู้ป่วย การสรุปเวชระเบียนตามระบบ ICD 10 การดูแลรักษาแบบสหวิชาชีพ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชนภายใต้ความดูแลของอาจารย์ ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี
ข่าว ประกาศ และกิจกรรม
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ภาควิชา
- ติดต่อภาควิชาอายุรศาสตร์
- 021234567
- 021234567
- info@email.com
- FB Page
- Line ID
- YouTube