Skip to content

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

เกี่ยวกับภาควิชา

กุมารเวชศาสตร์ (PED)

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ อยู่ในกลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นภาควิชาใหญ่ มีหลายหน่วยงาน เช่น หน่วยงานโรคระบบทางเดินหายใจ หน่วยงานโรคระบบประสาท หน่วยงานโรคโลหิตวิทยา ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาต้องผ่านการเรียนรู้ ประสบการณ์ระหว่างชั้นคลินิกปีที่ 4- ปีที่ 6 เพื่อให้นักศึกษาสามารถซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยแยกโรค โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ มีความเป็นมืออาชีพ สามารถให้การดูแลรักษา ป้องกัน ควบคุมโรค ส่งเสริมสุขภาพเด็กที่มีอายุแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี 

อ่านต่อ

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ เป็นภาควิชาใหญ่ภาควิชาหนึ่งที่นักศึกษาต้องผ่านการศึกษาทั้ง 3 ปีในชั้นคลินิก

ในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาที่สอบผ่านทุกรายวิชาของชั้นปีที่ 3 จะได้ศึกษาใน 2 รายวิชา คือ กุมารเวชศาสตร์ 1 และ กุมารเวชศาสตร์ 2 ที่เกี่ยวกับความรู้ทางทฤษฎีของการเจริญเติบโต  พัฒนาการเด็กและการดูแลสุขภาพเด็กตั้งแต่ 1 เดือนถึงอายุ 18 ปี   การประเมินภาวะโภชนาการ   โรคทุพโภชนาการ   ปัญหาสารน้ำและอิเล็กทรอไลต์   ความผิดปกติทางด้านพัฒนาการและอารมณ์  โรคติดเชื้อ  โรคในระบบต่างๆ สาเหตุและปัจจัยก่อโรค  อาการและอาการแสดง  พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา  การวินิจฉัยแยกโรค  การวินิจฉัยโรค  การดำเนินโรค  การรักษาโรค  กระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยการซักประวัติ  ตรวจร่างกาย  การวินิจฉัยแยกโรคและการวินิจฉัยโรค  การตรวจและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ  การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชนภายใต้ความดูแลของอาจารย์  การบันทึกรายงานผู้ป่วย  การสื่อสารระหว่างแพทย์  บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยและผู้ปกครอง   การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติในรายยุ่งยากซับซ้อน  การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ  ทักษะหัตถการทางกุมารเวชศาสตร์อย่างคำนึงถึงความปลอดภัยและสิทธิของผู้ป่วย  การป้องกัน การวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการทำหัตถการต่าง ๆ ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี  การป้องกัน ควบคุมโรค  สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์

ในชั้นปีที่ 5 นักศึกษาที่สอบผ่านรายวิชาของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ในชั้นปีที่ 4 แล้วจะได้ศึกษาใน 2 รายวิชา คือ กุมารเวชศาสตร์ 3 และ กุมารเวชศาสตร์ 4 ที่เกี่ยวกับความรู้ทางทฤษฎีของการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงอายุ 1 เดือน  หลักการซักประวัติมารดา  การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด   การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา   การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย โรคและภาวะวิกฤตที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด  ความพิการแต่กำเนิดและโรคทางพันธุกรรมที่สำคัญ  การคัดกรองโรคในทารกแรกเกิด   การเจริญเติบโตและพัฒนาการวัยรุ่น   ความผิดปกติทางพฤติกรรมและอารมณ์   ภาวะฉุกเฉินในเด็ก   โรคระบบต่างๆที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น  โรคที่พบบ่อยในเด็กเพิ่มเติม  สาเหตุและปัจจัยก่อโรค อาการและอาการแสดง  พยาธิกำเนิด  พยาธิสรีรวิทยา  การวินิจฉัยแยกโรค  การวินิจฉัยโรค  การดำเนินโรค  การรักษาโรค  กระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเด็กที่พบบ่อย   การซักประวัติ  การตรวจร่างกาย  การวินิจฉัยแยกโรค  การรักษาโรค  การสร้างเสริมสุขภาพ  การฟื้นฟูสภาพและป้องกันโรคเด็กที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดและเด็กทั่วไป  การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชนภายใต้ความดูแลของอาจารย์  การบันทึกรายงานผู้ป่วย  การสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ปกครอง  การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ  ทักษะหัตถการทางกุมารเวชศาสตร์เพิ่มเติมจากชั้นปีที่ 4 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสิทธิของผู้ป่วย  การป้องกัน  การวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการทำหัตถการต่าง ๆ  ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี   การป้องกัน ควบคุมโรค สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์

ในชั้นปีที่ 6  นักศึกษาที่สอบผ่านรายวิชาของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ในชั้นปีที่ 5 แล้วจะได้ศึกษาใน 2 รายวิชา คือ กุมารเวชศาสตร์ 5 และ กุมารเวชศาสตร์ 6 ที่เกี่ยวกับการประมวลความรู้ทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปีภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของอาจารย์การดูแลด้วยเจตคติที่ดีตามหลักเวชจริยศาสตร์  รักษาผู้ป่วยทางทางกุมารเวชศาสตร์  การฟื้นฟูสภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ   การป้องกันโรค   การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตามหลักเวชจริยศาสตร์   การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย  การส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่โรครุนแรงหรือซับซ้อนและการส่งผู้ป่วยกลับ  หลักการวิเคราะห์ทางข้อมูลเชิงประจักษ์   สิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วย ความรับผิดชอบ  ทักษะหัตถการที่จำเป็นและสำคัญตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา

การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย

  • แนะนำตัวเองทุกครั้งเมื่อเริ่มขึ้นปฏิบัติงาน
  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทุกระดับ อาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล หรือแม้แต่บุคลากรอื่นๆ
  • ตรงต่อเวลา วันราชการต้องขึ้นดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ 00 น. ทานอาหารเช้ามาให้เรียบร้อย
  • ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลด้วยตัวเอง ก่อนแพทย์ประจำบ้าน/staff ward จะขึ้นเพื่อทราบรายละเอียดล่วงหน้า
  • ขอให้แพทย์ประจำบ้าน และ/หรือ staff ward ช่วย confirm การซักประวัติตรวจร่างกาย และการประเมินของ นศพ.ในวันนั้นๆ
  • ทำ ward work / self study ตามที่ได้รับมอบหมาย

การรับผู้ป่วย

  • ตั้งหัวหน้ากลุ่มย่อย จ่ายผู้ป่วยเก่า 1 ราย / นศพ.1คน ไม่จ่ายคนไข้ซ้ำกัน
  • ผลัดเปลี่ยนกันรับผู้ป่วยใหม่ รายที่รับไว้ในเวรให้อยู่ในความรับผิดชอบของ นศพ.คนนั้นโดย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เขียน admission note ให้เสร็จภายใน 48 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยเก่าให้ สรุปรายงาน on service note ในแฟ้มผู้ป่วยในภายใน 48ชั่วโมง
  • ติดตามผลการตรวจ lab การรักษา การดำเนินการของโรค บันทึกรายงานการเปลี่ยนแปลง (progress note) ทุกวัน
  • Round ผู้ป่วยด้วยตัวเองทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
  • ใช้เวลาว่างเรียนรู้ศึกษาเคสน่าสนใจร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม

ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย

  • ระวังความเสี่ยงต่างๆ ในการสัมผัสผู้ป่วยทั้งกาย วาจา ใจ
  • ทำหัตถการภายใต้การควบคุมของแพทย์ประจำบ้าน และ/หรือ Staff แล้วให้ แพทย์ประจำบ้าน และ/หรือ Staff เซ็นชื่อกำกับด้วย
  • ระวังความเสี่ยงในการใช้เวชระเบียน ข้อมูลของผู้ป่วย ตลอดจนรูปถ่าย และสำเนาอื่นๆ ไม่นำไปลอก หรือปล่อยให้เปิดเผย
  • ระวังอุบัติเหตุจากการถูกเข็มตำมือ การปนเปื้อนจากสารคัดหลั่งที่มีการติดเชื้อ
  • ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน สื่อสารกับผู้ป่วยและบุคลากร
  • ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบของสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของส่วนรวม

Teaching Ward Round

  • เพื่อเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก และเทคนิคศิลปะในการปฏิบัติวิชาชีพ
  • ให้ นศพ.ติดต่ออาจารย์ก่อนเพื่อเลือก case อย่างน้อย 3 วันทำการ ก่อนวันนัด Round
  • วันที่กำหนด ให้นำเสนอรายงานที่เตรียมไว้ เพื่อร่วมอภิปรายปัญหาผู้ป่วย
  • ทุกคนในกลุ่มผลัดกันแสดงทักษะการตรวจร่างกาย อภิปรายผล lab วางแผนการรักษา ฝึกทักษะการให้คำแนะนำ

English Teaching ward round (TWR-E)

  • พัฒนาทักษะการสื่อสารทางการแพทย์โดยใช้ภาษาอังกฤษ
  • กลุ่มย่อย 4-6 คน กลุ่มละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง
  • ติดต่ออาจารย์ล่วงหน้า 3 วัน เพื่อเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้
  • ทบทวนคู่มือEnglish teaching ward round พร้อมฝึกซ้อมทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ
  • ฝึกซักประวัติ ขออนุญาตตรวจร่างกาย วิเคราะห์ อภิปรายวางแผนการดูแลรักษา และให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ
  • ใช้ภาษาอังกฤษตลอดกิจกรรม

Case Discussion

  • เพื่อให้กลุ่มฝึกการอภิปรายร่วมกันในหัวข้อที่พบบ่อย ทางกุมารฯหรือการรักษาที่ต้องใช้เทคนิคการปรับเปลี่ยนตามลักษณะผู้ป่วย เช่น การให้สารน้ำและเกลือแร่ในเด็ก
  • ก่อนชั่วโมงอภิปราย ให้ศึกษาด้วยตนเองในหัวข้อสารน้ำและเกลือแร่และปัญหาความผิดปกติของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
  • เตรียมเครื่องคิดเลขมาด้วย

Meet Tutor

  • มีอาจารย์ Tutor 2 รอบ รอบละ 5 สัปดาห์
  • แต่ละรอบจะมีอาจารย์ 1 ท่าน ดูแลนักศึกษาแพทย์ 2-3 คน
  • ให้ขอนัดพบอาจารย์ที่ เป็น Tutor สัปดาห์ละ1-2ครั้งๆละ2-3ชั่วโมงเพื่อนำเสนอรายงานผู้ป่วยที่รับผิดชอบ ให้อาจารย์ตรวจสอบแก้ไข และให้คำปรึกษาปัญหา
  • ควรนัดหมายเวลาและสถานที่ส่งและตรวจรายงานให้เรียบร้อยตั้งแต่วันแรกของรอบการดูแล
  • ส่งรายงานก่อนพบอาจารย์ อย่างน้อย 1วัน
  • เขียนรายงานผู้ป่วยใหม่ที่เลือกมา ส่งรายงานอย่างน้อย1ฉบับ/ สัปดาห์ รวม 4 ฉบับ

การอยู่เวรนอกเวลาราชการ

  • ตั้งแต่ 00-21.00 น. เวรละ 1 คนในวันราชการ และ 8.00-21.00 น. ในวันหยุดราชการ (วันหยุดราชการ แบ่งเป็น2เวรคือ 8.00-16.00น. และ 16.00 – 21.00 น.เวรละ 1 คน)
  • หัวหน้ากลุ่มย่อยเป็นผู้จัดเวร ทุกคนต้องอยู่เวรวันราชการ สัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ครั้ง วันหยุดราชการ สัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ครั้ง
  • บางวันอาจมีคนอยู่เวรมากกว่า 1 คนได้
  • ส่งตารางเวรพร้อมให้ตรวจสอบที่แพทย์ประจำบ้านและ ส่งสำเนาให้ครูประจำชั้น
  • รายงานตัวต่อแพทย์ประจำบ้าน 00 น. ของวันราชการ และ 8.00 น. ของวันหยุดราชการ
  • ร่วมรับเวรพร้อม แพทย์ประจำบ้านเพื่อรับการมอบหมายงาน

การเรียนที่หอผู้ป่วยนอก OPD

  • ออกตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกเป็นกลุ่มย่อย
  • กลุ่มละ1คร้ัง/สัปดาห์ คร้ังละ3ชั่วโมง ขอให้ตรงเวลา
  • อาจารย์ผู้ดูแลจะคัดเลือกคนไข้ให้นักศึกษาแพทย์ ซักประวัติ ตรวจร่างกายและวินิจฉัย
  • นำเสนอต่ออาจารย์ และอภิปรายแนวทางรักษา

กิจกรรมอื่นๆ

  • Lecture
  • Continuous development ศึกษา ตำรา ทำรายงานที่สนใจ จากตำรา หรือ Journal และเตรียมนำเสนอเป็น power point สั้นๆ
  • Health education กิจกรรมกลุ่ม ให้ความรู้ผู้ป่วย ผู้ปกครองในตึก ในรูปแบบอิสระ ให้ติดต่ออาจารย์ผู้คุมกิจกรรม ล่วงหน้า 1 -2 สัปดาห์ เพื่อร่วมพิจารณาหัวข้อ ก่อนวางแผน กำหนดรูปแบบกิจกรรม

PED 421
PED 422
PED 521
PED 522
PED 621
PED 622

แบบประเมินผลนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566

Checklist workshop ฉีดยา

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

พญ.ปิยรัชต์ สันตะรัตติวงศ์
PIYARAT SUNTARATTIWONG, MD
อาจารย์ประจำ
คุณวุฒิ
พ.บ.ม.มหิดล (ศิริราชฯ)
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (สถาบันสุขภาพเด็กฯ)
อว.เวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา
อว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อแพทยสภา (จุฬาลงกรณ์)
น.พ.เฉลิมไทย เอกศิลป์
CHALERMTHAI AKSILP, MD
หัวหน้ากลุ่มงาน
คุณวุฒิ
พ.บ.ม.สงขลานครินทร์
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (จุฬาลงกรณ์ฯ)
วว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ แพทยสภา (ร.พ.พระมงกุฎเกล้า)
อว.เวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา
ศ.คลินิก (ผศ.พิเศษ) น.พ.สุทธิพงษ์ ปังคานนท์
SUTHIPONG PANGKANON, MD
อาจารย์ประจำ
คุณวุฒิ
พ.บ. ม.มหิดล (รามาธิบดี)
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา
Cert. in Clinical Genetics University of Maryland, U.S.A.
อว.เวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา
ผศ.พิเศษ น.พ.สมจิต ศรีอุดมขจร
SOMJIT SRIUDOMKAJORN, MD
อาจารย์ประจำ
คุณวุฒิ
พ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (สถาบันสุขภาพเด็กฯ)
อว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา แพทสภา (รามาธิบดี)
Cert. Pediatric Epilepsy Austin and Repatriation, Medical Center, Melbourne, University, Australia
ผศ.พิเศษ พ.ญ.สมใจ กาญจนาพงศ์กุล
SOMJAI KANJANAPONGKUL, MD
อาจารย์ประจำรายวิชา PED 522
คุณวุฒิ
พ.บ.ม.มหิดล (รามาธิบดี)
วว.กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด แพทยสภา
อว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา
Cert. in Stem Cell Research University of Michigan
น.พ.ชูเกียรติ เกียรติขจรกุล
CHOOKIET KIETKAJORNKUL, MD
อาจารย์ประจำ
คุณวุฒิ
พ.บ. ม.ขอนแก่น
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (สถาบันสุขภาพเด็กฯ)
วว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคไต แพทยสภา (ร.พ.พระมงกุฎเกล้า)
Cert. in Pediatric Nephrology/ Transplantation, University of Illinois at Chicago
(รศ.พิเศษ) ผศ.พิเศษ พ.ญ.พนิดา ศรีสันต์
PANIDA SRISAN, MD
อาจารย์ประจำ
คุณวุฒิ
พ.บ. ม.เชียงใหม่
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (ม.เชียงใหม่)
วว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ แพทยสภา (รามาธิบดี)
พ.ญ.ชนกานต์ สุขณีวัฒน์
อาจารย์ประจำรายวิชา PED 421
คุณวุฒิ
พ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) ม.ขอนแก่น
วว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (สถาบันสุขภาพเด็กฯ)
พ.ญ.สิจา ลีลาทนาพร
อาจารย์ประจำรายวิชา PED 422
คุณวุฒิ
น.พ.กุลเสฏฐ ศักดิ์พิชัยสกุล
KULLASATE SAKPICHAISAKUL, MD
อาจารย์ประจำรายวิชา PED 521
คุณวุฒิ
พ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1) ม.มหิดล (รามาธิบดี)
วว.กุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา (รพ.มหาราชนครราชสีมา)
วว.อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา แพทยสภา (รามาธิบดี)
กำลังโหลดเพิ่ม

Checklist workshop Subcutaneous injection การฉีดวัคซีนเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
Checklist workshop Intramuscular injection การฉีดวัคซีนเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
Checklist workshop Intradermal injection การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง
แบบประเมินรายงาน นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566
แบบประเมิน Health Education นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566
แบบประเมิน WCC นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566
แบบประเมิน TWR นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566
แบบประเมิน OPD นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566
แบบประเมิน IPD นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565-2566
แผนการประเมินผลการเรียนรู้ PED422
แผนการประเมินผลการเรียนรู้ PED421

ข่าว ประกาศ และกิจกรรม

ข้อมูลประชาสัมพันธ์ภาควิชา

ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันสังคมและเวชศาสตร์ชุมชน (PVM)