Skip to content

การสมัครเข้าเรียน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

  1. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความผิดทางวินัย
  2. ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
  3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
  1. รับผู้สำร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเป็นผู้กำลังศึกษาและรอผลการสอบหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือ
  2. การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ให้เป็นไปตามประกาศที่ประชุมอธิการบดีแห่งระเทศไทย เรื่อง เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

* ผู้สมัครสอบวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี (ผู้เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นไป)

** ผู้เลือกสมัครสอบเข้าวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จะสามารถเลือกได้เพียง 1 โรงพยาบาลและต้องเป็นโรงพยาบาลเดียวกันทุกประเภทการรับ

–  สำหรับนักเรียนทั่วไป(สอบข้อเขียน) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษา ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีเทียบเท่าให้มหาวิทยาลัยพิจารณาโดยผู้สมัครสอบวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี (ผู้เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นไป)
–  คุณสมบัติเฉพาะ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนในต่างประเทศ หรือโรงเรียนนานาชาติใน
ประเทศไทย ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย ของระบบการศึกษาใดการศึกษาหนึ่ง
ดังนี้
     1.1 ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาแบบอเมริกา
     1.2 ระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาแบบอังกฤษ
2. มีเวลาเรียนในโรงเรียนนานาชาติตามหลักสูตร (หรืออย่างน้อย 3 ปีการศึกษาสุดท้าย) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High school)
3. มีผลการศึกษาข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
     3.1 SAT Subject test (SAT II) ทั้ง 3 รายวิชา ได้แก่
           (1) Biology (2) Chemistry (3) Physics หรือ Mathematics โดยแต่ละรายวิชามีคะแนนไม่ต่ำกว่า 620 คะแนน หรือ
     3.2 มีเกรดเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 และมี Grade ในวิชา
           (1) Biology (2) Chemistry (3) Physics หรือ Mathematics ไม่ต่ำกว่า B หรือ
     3.3 มีผลการสอบ IGCSE/GCSE 5 วิชา ซึ่งต้องประกอบด้วยวิชาหลักอย่างน้อย 3 วิชา คือ
           (1) Biology (2) Chemistry โดยมีผลการสอบไม่ต่ำกว่า B+ และวิชา (3) Physics หรือ Mathematics โดยมีผลการสอบไม่ต่ำกว่า B หรือ
     3.4 มีผลการสอบ International Baccalaureate (IB) Standard Level
           ประกอบด้วยวิชาใน Group 4 Experimental Science คือ (1) Biology (2) Chemistry โดยมีผล
           การสอบไม่น้อยกว่า 6 และ (3) Physics หรือวิชาใน Group 5 Mathematics โดยมีผลการสอบไม่ น้อยกว่า 5
4. มีใบรับรองผลการศึกษา (Transcript of Report) และ หนังสือรับรองสถานภาพว่าจะเสร็จสิ้นการเรียน การประเมินผลภายในปีการศึกษา 2567-2568 พร้อมแนบผลการเรียนตลอดหลักสูตร จากสถาบันการศึกษาหรือผู้อำนวยการสถาบัน
5. มีจดหมายแนะนำตัว (Recommendation) จากสถาบันการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ ออกโดยอาจารย์ประจำชั้น จำนวน 1 ฉบับ และอาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ
6. ผู้สมัครทุกคนต้องมีความสามารถในการสื่อสารและใช้ภาษาไทยในการพูด การอ่าน และการเขียนอยู่ในระดับดีเพียงพอที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษา
7. หากมีปัญหาคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมีอายุไม่เกิน 35 ปี (ผู้เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นไป)
2. แฟ้มผลงานที่ยื่นจะต้องประกอบด้วย
     2.1 UCAT (University Clinical Aptitude Test) ผลการทดสอบของปี 2023 หรือ ปี 2024 ต้องแนบ UCAT Official score report มาด้วย หรือ
          MCAT (The Medical College Admission Test) ผลการทดสอบของปี 2023 หรือ ปี 2024 ต้องแนบ MCAT Official score report มาด้วย หรือ
          BMAT (Bio Medical Admission Test) ผลการทดสอบของปี 2023 ต้องแนบ BMAT Official score report มาด้วย
     2.2 มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ IELTS (Academic Test) ≥ 6.5
     2.3 ผลงาน (Portfolio) จำนวน 10-20 หน้ากระดาษ A4 ใช้ฟอนท์ TH Sarabun PSK ขนาด 16 ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ 
           1. ประวัติส่วนตัว
           2. หลักฐานผลงานวิจัยและวิชาการรวมทั้งรางวัลและทุนที่ได้ที่มีคุณค่ามากที่สุด 3 กิจกรรม โดยส่งเป็น QR Codeหรือ Link ของผลงานวิจัยที่มีการนำเสนอ หากเป็นผลงานที่ไม่ได้นำเสนอให้ส่งเป็น PDF File
           3. หลักฐานผลงานกิจกรรมอื่นๆที่ต้องการนำเสนอส่งเป็น PDF File
           4. ข้อมูลติดต่อของอาจารย์/ที่ปรึกษา/ผู้รับรองผลงานวิจัยและวิชาการ ที่เป็นบุคคลอ้างอิงกิจกรรมที่นำเสนอ

คณะกรรมการประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์จะคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนร่วมกับการมีผลงานวิจัยและวิชาการที่มีคุณภาพดี มีความน่าประทับใจทำการประกาศรายชื่อเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายต่อไป โดยเป็นการสมควรกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้เหมาะสมโดยยึดหลักสำคัญ 3 ข้อ คือ 1. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย 2. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อนักศึกษาแพทย์เอง และ 3. เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ดังต่อไปนี้

 ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
          (1) ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่นได้แก่ โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิดantisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
         (2) โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยหรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
         (3) โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
         (4) ความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
         (5) ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน(sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
         (6) ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของวิทยาลัยแพทยศาสตร์เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า6/12 หรือ 20/40
          (7) โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ทั้งนี้สำหรับปัญหาสุขภาพหรือโรคต่างๆ ให้คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นผู้พิจารณา ตัดสิน ทั้งนี้ผลการตัดสินของคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ถือเป็นที่สิ้นสุด 

ปฏิทินกำหนดการและขั้นตอนการยื่นสมัครสอบ มรส.1 และ มรส.2

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

  • รอบมหาวิทยาลัยรังสิตรับตรง รอบที่ 1 และ รอบที่ 2

         ขั้นตอนที่ 1              ผ่านการสอบข้อเขียนของมหาวิทยาลัยรังสิต

         ขั้นตอนที่ 2              ผ่านการตรวจสุขภาพ

         ขั้นตอนที่ 3              ผ่านการสอบวิชาเฉพาะทางการแพทย์ และแบบทดสอบทางจิตวิทยา

         ขั้นตอนที่ 4              ผ่านการสอบสัมภาษณ์  โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์วิทยาลัยแพทยศาสตร์

  • รอบกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) TCAS รอบที่ 3

         ขั้นตอนที่ 1              ผ่านการคัดเลือกตามระบบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

         ขั้นตอนที่ 2              ผ่านการตรวจสุขภาพ

         ขั้นตอนที่ 3              ผ่านการทดสอบทางจิตวิทยา

         ขั้นตอนที่ 4              ผ่านการสอบสัมภาษณ์  โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์วิทยาลัยแพทยศาสตร์

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.