ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
เกี่ยวกับภาควิชา
สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (OBG)
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เป็นภาควิชาใหญ่ภาควิชาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นสาขาวิชาที่รวมเอาการแพทย์เฉพาะทาง 2 สาขาวิชาคือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาเข้าด้วยกัน ซึ่งนักศึกษาต้องผ่านการศึกษาทั้ง 3 ปีในชั้นคลินิก เพื่อให้เกิดทักษะในการวินิจฉัยแยกโรค ฝึกฝนกระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วย ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี การป้องกัน ควบคุมโรค และสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เป็นภาควิชาใหญ่ภาควิชาหนึ่งที่นักศึกษาต้องผ่านการศึกษาทั้ง 3 ปีในชั้นคลินิก
ในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาที่สอบผ่านทุกรายวิชาของชั้นปีที่ 3 จะได้ศึกษาใน 2 รายวิชา คือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 1 สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 2 ที่เกี่ยวกับวัยเริ่มเจริญพันธุ์ การมีระดู การหมดระดู โรคทางนรีเวชวิทยาที่พบบ่อย ความผิดปกติแต่กำเนิด โรคติดเชื้อ การมีบุตรยาก เนื้องอกธรรมดาและมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ครรภ์ไข่ปลาอุก และมะเร็งเนื้อรก สาเหตุ อุบัติการณ์ พยาธิสภาพ พยาธิสรีรวิทยา ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรค การดำเนินโรค การวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน การป้องกัน ควบคุมโรค และการพยากรณ์โรค วิธีการวางแผนครอบครัว กระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาทางนรีเวชวิทยาของผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์แพทย์ การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน การวินิจฉัยแยกโรคและการวินิจฉัยโรค การตรวจและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การบันทึกรายงานผู้ป่วย การดูแลรักษา การสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ การขอคำยินยอม ทักษะหัตถการต่าง ๆ อย่างคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย การป้องกันและบำบัดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการทำหัตถการ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชนภายใต้ความดูแลของอาจารย์ ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี การ สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์
ในชั้นปีที่ 5 นักศึกษาที่สอบผ่านรายวิชาของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ในชั้นปีที่ 4 แล้วจะได้ศึกษาใน 2 รายวิชา คือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 3 สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 4 ที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ การเจ็บครรภ์ การคลอด ระยะหลังคลอด การบริหารร่างกายในสตรีตั้งครรภ์ การใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ การก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์ ความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ระยะเจ็บครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด สาเหตุ อุบัติการณ์ พยาธิสภาพ พยาธิสรีรวิทยา ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรค การดำเนินโรค การวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน การป้องกันและการพยากรณ์โรค การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา สุขภาพมารดาและทารก การตายและทุพพลภาพของมารดาและทารก หลักการของสูติศาสตร์หัตถการที่จำเป็น กระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางเวชปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาทางสูติศาสตร์ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์แพทย์ การดูแลสตรีระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด การประเมินสุขภาพ การสร้างเสริมการมีสุขภาพดีทั้งมารดาและทารกในครรภ์ การฝึกมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา การป้องกันความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ระยะเจ็บครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด การดูแลภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ การบันทึกรายงานผู้ป่วย การดูแลรักษา การสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ ปัญหาทางจริยธรรมทางการแพทย์ ทักษะสูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ อย่างคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย วิสัญญีวิทยาที่จำเป็นทางสูติศาสตร์ การป้องกันและบำบัดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการทำหัตถการ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชนภายใต้ความดูแลของอาจารย์ ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี การป้องกัน ควบคุมโรค สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์
ในชั้นปีที่ 6 นักศึกษาที่สอบผ่านรายวิชาของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ในชั้นปีที่ 5 แล้วจะได้ศึกษาใน 3 รายวิชา คือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 5 สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 6 และสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 7 ที่เกี่ยวกับการประมวลความรู้ทางเวชปฏิบัติ การดูแล รักษาผู้ป่วยทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา หลักการวิเคราะห์ทางข้อมูลเชิงประจักษ์ การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตามหลักเวชจริยศาสตร์ การส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่โรครุนแรงหรือซับซ้อนและการส่งผู้ป่วยกลับ สิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วย เวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของอาจารย์ การวางแผนการจำหน่าย การติดตามผู้ป่วยหลังการรักษา ทักษะทางสูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ ตามที่แพทยสภากำหนด สิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วย การป้องกัน การดูแลรักษา ภาวะแทรกซ้อนจากหัตถการ การวางแผนการจำหน่าย การติดตามผู้ป่วยหลังการรักษา การให้บริการการวางแผนครอบครัว ทักษะหัตถการทางนรีเวชวิทยาตามที่แพทยสภากำหนด สิทธิและความปลอดภัยของผู้ป่วย การป้องกัน การดูแลรักษา ภาวะแทรกซ้อนจากหัตถการ การบันทึกรายงานผู้ป่วย การสรุปเวชระเบียนตามระบบ ICD 10 การประเมินความสามารถของตนเองในการดูแลรักษาผู้ป่วย การส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่โรครุนแรงหรือซับซ้อนและการส่งผู้ป่วยกลับ การนำข้อมูลเชิงประจักษ์ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย การสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ การป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพ การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ การทำงานแบบสหวิชาชีพ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ครอบคลุมถึงครอบครัวผู้ป่วยและชุมชนภายใต้ความดูแลของอาจารย์ ความรับผิดชอบด้วยเจตคติที่ดี การป้องกัน ควบคุมโรค สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพตามหลักเวชจริยศาสตร์
ข่าว ประกาศ และกิจกรรม
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ภาควิชา
- ติดต่อภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ชั้น 2 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลราชวิถี
- 021234567
- 021234567
- info@email.com
- Line ID