Skip to content

การเรียนการสอนชั้นคลินิก

การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 นักศึกษาเข้าเรียนภาคปรีคลินิกเป็นเวลา 3 ปี ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี สอนโดย คณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

จากนั้น นักศึกษาแพทย์จะมาเรียนชั้นปีที่ 4 ที่ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งสอนโดยคณาจารย์ของโรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และนักศึกษาแพทย์ที่สังกัดที่ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลเลิดสิน ก็จะเข้าศึกษาต่อภาคคลินิกจำนวน 3 ปี โดยคณาจารย์ของโรงพยาบาลเลิดสิน

นักศึกษาแพทย์จะได้รับการฝึกปฏิบัติทางคลินิกชุมชน (community hospital) ที่โรงพยาบาลฝึกภาคสนามต่างๆ ได้แก่

ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

  1. โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
  2. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
  3. โรงพยาบาลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  4. โรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  5. โรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  6. โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  7. โรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลเลิดสิน

  1. โรงพยาบาลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  2. โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
  3. โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
  4. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

กิจกรรมของนักศึกษา (รายวิชา PVM 621)

ปฐมนิเทศก่อนออกภาคสนาม 1 สัปดาห์

  • การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติการภาคสนาม
  • ทบทวนการวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติและการใช้โปรแกรม SPSS

ครึ่งวันบ่ายของวันจันทร์ทุกสัปดาห์ให้นักศึกษาทำงานด้านวิจัย

สัปดาห์ที่ 1 : เขียนโครงร่างงานวิจัย  (Research proposal)

โดยนักศึกษาจะต้องศึกษา/ปรึกษา อาจารย์ที่ดูแลรับผิดชอบ โดยมองปัญหาสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนที่ฝึกปฏิบัติงานและพัฒนาโครงร่างงานวิจัย

 สัปดาห์ที่ 2 : นำเสนอโครงร่างงานวิจัย

  • นักศึกษานำเสนอโครงร่างงานวิจัยในการประชุมทางไกลกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
  • อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยา วันจันทร์ เวลา 13.30-15.30 น.

สัปดาห์ที่ 3 : เก็บข้อมูล, วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและทำรายงาน

นักศึกษาร่วมกันเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลการทำวิจัย นำเสนอประชุมทางไกลกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยา  วันจันทร์ เวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาแพทย์นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงแก้ไข

สัปดาห์ที่ 4 : นำเสนอผลงานวิจัย ที่ปรับปรุงแก้ไขและจัดทำรายงาน

นักศึกษานำเสนอประชุมทางไกลงานวิจัยที่ปรับปรุงแก้ไข กับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา         และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยาและแพทย์พี่เลี้ยงของโรงพยาบาลชุมชน ในวันจันทร์ เวลา 13.30 – 15.30 น.  และส่งรายงานการวิจัย

  1. ส่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
  2. รูปเล่ม 1  ฉบับ ส่งให้อาจารย์ผู้ควบคุมงานวิจัยโรงพยาบาลภาคสนาม ภายใน 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชุมชน 

นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ศึกษาวิจัย 1 เรื่อง ต่อนักศึกษาแพทย์ 2-3 คน โดยนักศึกษาเลือกหัวข้องานวิจัยที่ตนเองสนใจในระหว่างปฏิบัติงานอยู่โรงพยาบาลชุมชน 4 สัปดาห์ โดยมีขอบเขตของเรื่องที่วิจัยในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ

การยื่นแบบคำร้องขอดูคะแนน

ขั้นตอนการรักษาสถานภาพนักศึกษา