หลักสูตร
แพทยศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิชาแพทยศาสตร์
หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาแพทยศาสตร์ที่สถาบันร่วมผลิตแพทย์โดยกรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิต มีชื่อเรียกหลักสูตรว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (Doctor of Medicine Program) และชื่อปริญญาคือ แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) ในภาษาไทย และ Doctor of Medicine (M.D.) ในภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนตลอดหลักสูตร 6 ปี แบ่งออกเป็นการเรียนในภาคปรีคลินิก ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 3 และการเรียนในภาคคลินิก ตั้งแต่ชั้นปีที่ 4-6
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
เปิดอ่าน E-book Bulletin วิทยาลัยแพทยศาสตร์
รายละเอียดหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร รายวิชาและหน่วยกิต
หลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 248 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต แบ่งโครงสร้างหลักสูตรออกเป็น 3 กลุ่มวิชา ดังนี้
กลุ่มที่ 1 อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย (RSU Identity) 3 หน่วยกิต
กลุ่มที่ 2 ความเป็นสากลและการสื่อสาร (Internationalization and Communication)
12 หน่วยกิต โดยกลุ่มที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวิชา ดังนี้
กลุ่ม 2.1 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ (English Language) 6 หน่วยกิต
กลุ่ม 2.2 กลุ่มวิชาภาษานานาชาติและประสบการณ์ระหว่างประเทศ (International Language and International Experience) 6 หน่วยกิต
กลุ่มที่ 3 สหวิทยาการ (Interdisciplinary) 15 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ 212 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1) วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2) วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 66 หน่วยกิต
3) วิชาชีพ 143 หน่วยกิต
ก. วิชาชีพ-บังคับ 131 หน่วยกิต
ข. วิชาชีพ-เลือก (หมวดวิชาเลือกเพื่อส่งเสริมสมรรถนะที่เป็นจุดเน้นของสถาบัน หรือ ส่งเสริมศักยภาพตามความสนใจของผู้เรียน) 12 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
ชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 3 เทอม 1 การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเน้นด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน เป็นการปูพื้นฐานเพื่อจะนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในภาคคลินิก ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์สอนเป็นหลัก โดยอาจารย์แพทย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ซึ่งเป็นแพทย์ของโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ร่วมสอนด้วย นอกจากนี้ยังมีอาจารย์พิเศษจากโรงเรียนแพทย์ต่างๆ มาบรรายายในหัวข้อต่างๆ ใหญ่ด้วย ซึ่งส่วนจะใช้พื้นที่เรียนในอาคารรังสิตประยูรศักดิ์ (อาคาร 12) และอาคารวิทยาศาสตร์ (อาคาร 4, 4/1, 4/2) ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยรังสิต
สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต
- อาคารรังสิตประยูรศักดิ์ (อาคาร 12) เป็นอาคารที่ใช้ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้พื้นที่ในส่วนด้านตะวันออก อาคารนี้สร้างเสร็จเมื่อปลายปีการศึกษา 2550 และพร้อมใช้งานได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์วางแผนที่จะเปิดสำนักงานถาวรของวิทยาลัยฯ ในอาคารนี้ และนอกจากนี้จะมีห้องไว้สำหรับอ่านหนังสือ ประชุม สืบค้นข้อมูล และอื่นๆ สำหรับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 3 เทอม 2 นักศึกษาแพทย์จะย้ายมาเรียนที่อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต ภายในพื้นที่โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นชั้นคลินิก
สถานที่ภายในโรงพยาบาลราชวิถี
- สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ หรือ อาคารประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เป็นสถานที่ของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ไม่ได้ถือเป็นสถานที่ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์โดยตรง แต่สร้างโดยงบประมาณของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่มอบเป็นทุนประเดิมให้แก่ มูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน และประสานงานระหว่างกรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาแพทย์ ในระยะยาวที่ส่งเข้ามาเรียนในความรับผิดชอบของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในเขต โรงพยาบาลราชวิถีบริเวณด้านฝั่งถนนพญาไท ติดกับทางด้านสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
นักศึกษาชั้นปีที่ 4-6 จะเข้าเรียนต่อภาคคลินิกซึ่งรับผิดชอบโดยสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ – มหาวิทยาลัยรังสิต ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเดิมเป็นเพียงสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน (แพทย์เฉพาะทาง) ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนทางวิชาการและฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ภายใต้การดูแลของคณาจารย์แพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาในโรงพยาบาล
โรงพยาบาลราชวิถี
- สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ หรือ อาคารประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เป็นสถานที่ของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ไม่ได้ถือเป็นสถานที่ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์โดยตรง แต่สร้างโดยงบประมาณของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่มอบเป็นทุนประเดิมให้แก่ มูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน และประสานงานระหว่างกรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาแพทย์ ในระยะยาวที่ส่งเข้ามาเรียนในความรับผิดชอบของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในเขต โรงพยาบาลราชวิถีบริเวณด้านฝั่งถนนพญาไท ติดกับทางด้านสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีลักษณะโครงสร้างเป็นอาคารสูง 6 ชั้น หลังก่อสร้างเสร็จคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ได้มอบพระพุทธรูปปางป่าเรไรประทานพร ประดิษฐานเป็นศูนย์รวมจิตใจของนักศึกษาแพทย์ ที่โถงชั้นล่างของอาคาร และแต่ละชั้นแบ่งพื้นที่การใช้สอยโดยโดยแบ่งดังนี้
- ชั้นที่ 1 เป็นห้องเรียนภาคบรรยาย จำนวน 3 ห้องเรียน และมีห้องเรียนภาคปฏิบัติ “ห้องปฏิบัติการ ศ.นพ.ประสงค์ ตู้จินดา”จำนวน 1 ห้อง และร้านถ่ายเอกสาร
- ชั้นที 2 เป็นสำนักงานของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ และห้องประชุมย่อย จำนวน 1 ห้อง
- ชั้นที่ 3 เป็นสำนักงานวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, ห้องสมุดสถาบันร่วมฯ และห้องประชุมอาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นห้องประชุมพื้นยกระดับขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การประชุมต่างๆ ของสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ
- ชั้นที่ 4 เป็นห้องสำนักงาน และห้องประชุมวิทยาลัยแพทศาสตร์, ห้องอธิการวิทยาลัย, ห้องผู้อำนวการสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ
โรงพยาบาลเลิดสิน
- อาคารศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก
อาคารอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก อยู่ติดกับอาคาร 33 ปีโรงพยาบาลเลิดสิน ซึ่งเป็นส่วนแยกจากพื้นที่โรงพยาบาลเลิดสิน จัดสร้างโดยงบประมาณของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาแพทย์ทั้งห้องเรียนบรราย และห้องปฏิบัติการ Skill Lab รวมถึงห้องสำนักงานศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต และห้องสมุด
นอกจากนี้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกประสบการณ์เพิ่มเติม ในต่างจังหวัด เสมือนการฝึกภาคสนาม ซึ่งทําให้ได้ประสบการณ์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา โดยแบ่งการเรียนเป็น 2 ระดับคือ การฝึกระดับในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (รพศ./รพท./รพช.ขนาดใหญ่) ได้แก่โรงพยาบาลพุทธโสธร(รพ.ประจําจังหวัดฉะเชิงเทรา) โรงพยาบาลยุพราชสระแก้ว และ โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี การฝึกในระดับโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลสนามชัยเขต โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว โรงพยาบาลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี
โรงพยาบาลชุมชน /สถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกชุมชน (Community Hospitals)
ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กระดับ M1 จํานวนเตียง 250 เตียงให้บริการทางการแพทย์ และ สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช กุมารเวชกรรม ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ วิสัญญีวิทยา จิตเวช
- โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับ M1 จํานวนเตียง 388 เตียง เป็นสถานบริการแม่ข่ายให้กับ สถานพยาบาลในเขตจังหวัดสระแก้ว เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิมีแพทย์เฉพาะทางใน สาขา อายุรกรรมศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช กุมารเวชกรรม ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์วิสัญญีวิทยา โสต ศอ นาสิก จักษุวิทยา
- โรงพยาบาลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด F2 จํานวนเตียง 30 เตียงให้บริการทางการแพทย์ และ สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช จิตเวชการแพทย์ทางเลือก
- โรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด F1 จํานวนเตียง 120 เตียงให้บริการทางการแพทย์ และ สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา ศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช กุมารเวชกรรม
- โรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด M2 จํานวนเตียง 120 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข ระดับปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช กุมารเวชกรรม และจิตเวช
- โรงพยาบาลบางน้ําเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงพยาบาลชุมชน จํานวนเตียง 60 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช กุมารเวชกรรม และจิตเวช
ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลเลิดสิน
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับใหญ่ จํานวนเตียง 180 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับ ทุติยภูมิ มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยกรรมกระดูก จักษุ โสต ศอ นาสิก วิสัญญี รังสี เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์ป้องกัน และเวชปฏิบัติทั่วไป
- โรงพยาบาลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง จํานวนเตียง 90 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับ ปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติศาสตร์-นรีเวช กุมารเวชกรรม ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ วิสัญญีวิทยา จิตประสาท และรังสีวิทยา
- โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ จํานวนเตียง 120 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับ ปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ และจักษุแพทย์
- โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ จํานวนเตียง 150 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ ให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับ ปฐมภูมิ และระดับกลาง มีแพทย์เฉพาะทางในสาขา อายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม ออร์โธปิดิกส์ โสต ศอ นาสิก และศัลยกรรมช่องปาก
การประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แบ่งเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา (formative evaluation) และการประเมินเพื่อตัดสินในการเรียนในแต่ละรายวิชาว่าได้ หรือ ตก หรือได้เกรดเท่าใด (summative evaluation)
การประเมินเพื่อพัฒนา (formative evaluation) ทำตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาบทนำสู่วิชาชีพแพทย์ ประเมินต่อเนื่องในทุกรายวิชาตามระบบร่างกายตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 และ 3 สำหรับในชั้นคลินิกทำการประเมินเพื่อพัฒนาในทุกรายวิชาที่มีการเรียนการสอนมากกว่า 2 สัปดาห์ นักศึกษาที่มีปัญหาจากการประเมินจะได้ข้อมูลป้อนกลับจากอาจารย์ตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี และจัดอาจารย์รับผิดชอบพัฒนานักศึกษานั้นๆ
การประเมินเพื่อตัดสินในการเรียนในแต่ละรายวิชา (summative evaluation) ใช้การประเมินที่หลากหลายตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีสัดส่วนต่างกันไปในแต่ละรายวิชา กำหนดเกณฑ์เพื่อตัดสินชัดเจนไว้ในรายละเอียดแต่ละรายวิชาให้นักศึกษาได้รับทราบตั้งแต่ก่อนเรียน ตามคำสั่งนี้
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education,TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผล การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของหลักสูตรแพทยศาตรบัณฑิต
ข่าวและกิจกรรมด้านหลักสูตร
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของหลักสูตรแพทยศาตรบัณฑิต
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของหลักสูตรแพทยศาตรบัณฑิต
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567
ประชาสัมพันธ์ฝ่ายหลักสูตร