ประวัติการก่อตั้ง
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหน่วยงานของกรมการแพทย์ กระทรางสาธารณสุข ก่อตั้งเพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ของคณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยรังสิตในขณะนั้น ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 9 ในจำนวนโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึง ๒๕๖๖ ได้มีบัณฑิตแพทย์ที่จบไปทั้งสิ้น 30 รุ่น จำนวน 2,600 คน ซึ่งได้ปฏิบัติงานอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและส่วนใหญ่อยู่ในภาครัฐ
ประวัติความเป็นมา ดังนี้
อธิการบดีวิทยาลัยรังสิต ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ทำหนังสือที่ วรส. ๒๑๖/๒๕๓๑ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ขอความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุขในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ของวิทยาลัยรังสิต (ต่อมาเปลี่ยนสถานภาพเป็น มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) ได้พิจารณาเห็นว่า หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข มีความพร้อมที่จะให้การฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ได้ คือ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเด็ก (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี) ตลอดจนโรงพยาบาลศูนย์ และศูนย์สาธารณสุขชุมชน
ขณะนั้นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธัชชัย มุ่งการดี ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงฯ ได้ตอบอธิการบดีวิทยาลัยรังสิต ตามหนังสือ ที่สธ. ๐๒๑๒/๔.๔/๖๓๖ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2531 พิจารณาอนุมัติในหลักการ และได้ขอความร่วมมือไปยังกรมการแพทย์ในการอนุมัติให้โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลเด็ก เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยให้วิทยาลัยรังสิต เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงาน
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้วิทยาลัยรังสิต เปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตได้ตั้งแต่ภาค 1 ปีการศึกษา 2532
วันที่ 4-5 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เป็นโครงการสัมมนาการประสานงานระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อวางแนวทางประสานงานระหว่างกรมการแพทย์ ซึ่งนายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุล เป็นอธิบดีขณะนั้นร่วมกับคณะแพทยศาสตร์วิทยาลัยรังสิต โดยอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดา คณบดี
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ได้มีพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาแพทย์ภาคคลินิกรุ่นแรก จำนวน 33 คน
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 วางศิลาฤกษ์สร้างอาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ก่อสร้างอาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ โดยมีชื่อว่า อาคารประสิทธิ์ อุไรรัตน์ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เพื่อจัดการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นหอพักสำหรับ นักศึกษา นอกจากนี้ ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อจาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปัจจุบัน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์ ภาคคลินิก ระหว่างกรมการแพทย์ และมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 3 แห่ง
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2537 ระหว่างกรมการแพทย์ กับคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลเลิดสิน
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
สถาบันผลิตแพทย์รัฐร่วมเอกชนอันดับหนึ่งของประเทศระดับมาตรฐานสากล
สถาบันผลิตแพทย์รัฐร่วมเอกชน ที่สร้างประโยชน์ด้านการแพทย์ให้กับสังคม ผลิตบัณฑิตแพทย์ได้มาตรฐานแพทยสภา และระดับสากล
- เน้นการพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในอนาคต
- มุ่งเน้นการวิจัย
- ปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการเรียนรู้
- ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบัน
ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม รับใช้สังคม
ร่วมพลังทำงาน เน้นการเรียนรู้ ด้วยความโปร่งใส มีคุณธรรม อย่างมืออาชีพ
Values
LIPS:
L (Learning) = มุ่งเน้นการเรียนรู้
I (Integrity) = คุณธรรม
P (Professionalism) = มืออาชีพ
S (Synergy) = พลังร่วม
ผลิตแพทย์ที่ได้มาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับสังคม
ผลิตแพทย์ที่มีความสามารถในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
สามัคคี มีคุณธรรม
มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษา คือ “นวัตกรรม” การเรียนการสอน
ชมวีดีโอเกี่ยวกับเรา
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก 3 แห่ง